http://valrom.igetweb.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

เว็บไซต์>ประพันธ์ เวารัมย์

แนวข้อสอบท้องถิ่นและส่วนราชการอื่นๆ (โหลด/ดูข้อมูล)

 รวมรูปภาพ

 เฟซบุ๊ก (facebook) (หัดทำแนวข้อสอบท้องถิ่นและอื่นๆ)

สถิติ

เปิดเว็บ01/07/2011
อัพเดท12/03/2024
ผู้เข้าชม4,084,974
เปิดเพจ6,204,368

ปฎิทิน

« May 2024»
SMTWTFS
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 

เฟซบุ๊ก ประพันธ์ เวารัมย์

ความรู้ต่างๆ ที่น่ารู้ครับ

โบนัส (อปท.) แบบประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฎิบัติราชการฯ

พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับปฎิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 2 พ.ศ.2548

พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แก้ไข ฉ 2 พ.ศ.2549

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

จุดเน้นสาระสำคัญพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จุดเน้นพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงิน ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566

จุดเน้นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563

จุดเน้นพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2562

จุดเน้นพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562

แนวข้อสอบต่างๆ

พ.ร.บ.หรือกฎหมายต่างๆที่น่าออกข้อสอบของส่วนราชการต่างๆ

แนวข้อสอบและแนวคำบรรยายปริญญาโท ม.ราม

มุมอมยิ้ม

สินค้า

 หนังสือสอบ
iGetWeb.com
AdsOne.com

รู้จัก "กรมผู้สูงอายุ" กรมใหม่ป้ายแดง ! (กรมกิจการผู้สูงอายุ)

(อ่าน 367/ ตอบ 0)

เว็บมาสเตอร์

เนื่องในโอกาสวันผู้สูงอายุแห่งชาติวันที่ 13 เมษายน ถือโอกาสเยี่ยมชม "กรมป้ายแดง" เปิดทำการได้เดือนกว่าๆ "กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.)" ภายใต้สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เกิดขึ้นตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2558



บ้านหลังใหญ่หลังใหม่นี้ภายในเป็นอย่างไร มีผู้พาเข้าเยี่ยมชมทุกซอกทุกมุม นางสุนทรี พัวเวส รองอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน และรักษาราชการแทนรองอธิบดีกรม ผส. กล่าวถึงที่มา


กรมกิจการผู้สูงอายุว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัจจุบันเรามีประชากรสูงอายุ 9 ล้านคน และกำลังจะสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าปี 2564 สัดส่วนผู้สูงอายุของไทยจะเพิ่มมากกว่าร้อยละ 20 รัฐบาลจึงตระหนักถึงสถานการณ์สังคมผู้สูงอายุ จัดตั้งกรมผู้สูงอายุขึ้นมาเพื่อเป็นหน่วยงานระดับกรมรองรับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุทั้งหมด ถือเป็นหน่วยงานหลักที่แต่เดิมประเด็นเรื่องผู้สูงอายุจะเป็นระดับสำนักภายใต้กรมหนึ่งดูแลเท่านั้น

"อัตราประชากรสูงอายุของไทยเพิ่มขึ้นเร็วมากเมื่อเทียบกับประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการเจริญแล้วอย่างประเทศแถบยุโรปสแกนดิเนเวียที่มีสวัสดิการดีๆเขาใช้เวลาร้อยปีในการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่สังคมไทยใช้เวลาหลักสิบปี ตรงนี้ต้องย้อนกลับไป 30 ปีที่แล้ว ที่เรามีประชากรวัยแรกเกิด หรือเจเนอเรชั่นบี (พ.ศ.2489-2507 หรืออายุ 45-63 ปี) เพิ่มเร็วมาก"

บทบาทหน้าที่ของกรม    นางสุนทรีกล่าวว่า เราขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) และ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ที่จะระบุยุทธศาสตร์ต้องทำ มีใครรับผิดชอบเป็นเจ้าภาพบ้าง เช่น เรื่องการรักษาพยาบาล มีกระทรวงสาธารณสุขเป็นเจ้าภาพ รวมถึงหน่วยงานที่มีโรงพยาบาลในสังกัด เรื่องการประกอบอาชีพ มีกระทรวงแรงงานเป็นประธาน รวมถึงการดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับสิทธิตามสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะเห็นว่างานด้านผู้สูงอายุต้องขับเคลื่อนไปด้วยกันหลายหน่วยงาน ไม่สามารถทำโดยลำพังได้



สุนทรี พัวเวส 

 "กรมนี้เป็นที่รอคอยและมุ่งหวังของผู้สูงอายุ ที่จะให้เกิดองค์กรภาครัฐที่เป็นเจ้าภาพ ในการขับเคลื่อนประเด็นและทำให้เกิดการดูแลผู้สูงอายุให้ทั่วถึงและเป็นธรรม ฉะนั้นต่อไปมีประเด็นอะไรที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุให้มุ่งตรงมาที่เราได้เลยเราก็จะเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนภารกิจที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพได้ต่อไป"

ขับเคลื่อนงานโดยใช้ชุมชนเป็นตัวตั้ง

นางสุนทรีชื่นชมรัฐบาลปัจจุบันว่าให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมสังคมผู้สูงอายุอย่างเร็วๆนี้ที่นายยงยุทธยุทธวงศ์รองนายกรัฐมนตรี มีโครงการ "รัฐ-ราษฎร์ ร่วมใจห่วงใยดูแลผู้สูงอายุ" ที่นำ 6 กระทรวงมาขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุที่ใช้พื้นที่ชุมชนเป็นตัวตั้ง ภายใต้การส่งเสริมให้เกิดศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เพื่อเน้นสร้างระบบการดูแลระยะยาว อย่างศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ เป็นนโยบายของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. โดยเริ่มในปี 2557-2558 ที่กระทรวง พม.ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และชมรมผู้สูงอายุ จัดตั้งศูนย์ 878 แห่งในระดับอำเภอ ขณะที่อนาคตมีแผนจะขยายศูนย์แห่งนี้ให้ครอบคลุมระดับตำบล หรืออีก 7,000 กว่าแห่ง ซึ่งศูนย์เหล่านี้จะเป็นการมารวมตัวของผู้สูงอายุ ตั้งแต่การมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยน ออกกำลังกาย คิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม รวมถึงการฝึกอาชีพให้ผู้สูงอายุ เพื่อคลายเหงา และมีรายได้เสริม



"รัฐบาลและคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติให้ความสำคัญเรื่องเศรษฐกิจของผู้สูงอายุมากมองว่าทำอย่างไรที่จะให้ผู้สูงอายุอยู่ในภาวะดูแลตัวเองได้ยาวนานที่สุดอย่างการสร้างหลักประกันด้วยการออมหรือการทำงานในผู้สูงวัยตรงนี้จะเป็นงานอดิเรกเพื่อรับรายได้เสริม เป็นงานรับไปทำที่บ้านหรือรวมกลุ่มทำที่ศูนย์ ส่วนทางศูนย์ก็มีภารกิจในการฝึกอบรมอาชีพ ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มประกอบอาชีพ อย่างบางที่ที่ประสบความสำเร็จ ทาง อปท.ก็จะประสานหาช่องทางตลาดให้"

ต่างประเทศมีกรมผู้สูงอายุหรือไม่

นางสุนทรีกล่าวว่าต่างประเทศเขาไม่มีกรมผู้สูงอายุโดยตรงอาจรวมอยู่ในกรมผู้สูงอายุและครอบครัวอย่างประเทศญี่ปุ่นเขาให้อยู่ภายใต้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เพราะผู้สูงอายุของเขายิ่งใหญ่มาก ต้องใช้ระดับกระทรวงมามีบทบาท รวมถึงภาคท้องถิ่นของเขาที่เป็นหน่วยหลักมีบทบาทมากในการดูแลผู้สูงอายุ

"บางคนบอกว่าทำไมเราไม่ทำอย่างญี่ปุ่นตรงนี้ต้องดูตั้งแต่ต้นน้ำว่าเขาทำงานได้เงินมากก็ต้องเสียภาษีมากถึง20-30เปอร์เซ็นต์เพื่อรอได้สวัสดิการในวัยสูงอายุ รัฐสวัสดิการเขาไม่ได้ให้เปล่า เขาได้เงินภาษีจากการทำงานของประชาชน จนถึงเวลาที่ทำงานไม่ได้แล้วหรือสูงอายุเขาก็จะได้รับเงินสวัสดิการนั้นกลับคืนมา ขณะที่เรายังไม่ได้เก็บภาษีที่สูงเพื่อนำมาจ่ายสวัสดิการอย่างนั้น แต่หากถามว่าจะมีการขึ้นเงินเบี้ยผู้สูงอายุในเร็วๆ นี้หรือไม่ ตอนนี้ยังไม่มีการพูดคุยกัน เพราะปัจจุบันก็จ่ายให้ผู้สูงอายุ 7-8 ล้านคน ใช้งบประมาณมหาศาลอยู่"

เป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพได้อย่างไร



นางสุนทรีกล่าวว่ามีปัจจัย4หลักคือ1.ด้านเศรษฐกิจ ต้องทำให้มีการออมตั้งแต่วัยเด็ก ด้วยการปลูกฝังวินัยการออมการเก็บออมวัยแรงงาน มีที่อยู่อาศัยมั่นคง 2.สุขภาพ ต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็กเรื่องการดูแลสุขภาพ พอมาวัยแรงงานก็ไม่ใช้ชีวิตให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคภัยที่เกิดจากพฤติกรรมทั้งหลาย เพราะหากเป็นผู้สูงอายุที่สุขภาพอ่อนแอ เงินที่เก็บมาทั้งชีวิตก็ไม่พอใช้ ต้องมาจ่ายเพื่อการรักษาสุขภาพ 3.สังคม ต้องเข้าสังคมบ้าง และ 4.สภาพแวดล้อมทั้งในบ้านและชุมชน ต้องมีบ้านที่ปลอดภัย สภาพแวดล้อมรองรับเป็นบ้านที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกวัยสูงอายุ เช่น พื้นไม่ลื่น มีราวจับในห้องน้ำ แสงสว่างเพียงพอ รวมถึงสภาพแวดล้อมในชุมชนก็สำคัญ แต่ให้เป็นหน้าที่ของท้องถิ่นที่ต้องสร้างระบบสาธารณูปโภคให้รองรับ



"จะเห็นว่าการทำงานด้านผู้สูงอายุมีหลายองค์ประกอบจะสำคัญมากก่อนวัยผู้สูงอายุฉะนั้นนับตั้งแต่วัยเด็กก็ควรปลูกฝังความกตัญญูรู้คุณทุนทางสังคมที่เราต้องให้ความสำคัญต่อผู้ใหญ่เป็นเรื่องที่ดีมากที่เราต้องรักษาตรงนี้ไว้โดยการปลูกฝังให้เห็นความสำคัญการเคารพนับถือไม่ทอดทิ้งพ่อแม่ปู่ย่าตายายซึ่งจะติดไปจนโต กระทั่งไปมีครอบครัวเขาก็ไม่ทอดทิ้งพ่อแม่ ขณะที่วัยทำงานหากคุณอยากรู้ว่าจะสามารถเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพได้หรือไม่ ให้ดูตั้งแต่บัดนี้ตามสิ่งที่บอกไปข้างต้น" นางสุนทรีกล่าวทิ้งท้าย

ที่มา




Link: คลิ๊กที่นี่

Webboardแสดงความคิดเห็น
เยี่ยม   แย่   แย่   แย่   เขิน   หยอกล้อ  ตกใจ  ร้องไห้   สงสัย   ขอโทษ   หดหู่   อย่าน่ะ   ต่อว่า   โอเค
*ชื่อ
*สถานะ  
*อีเมล
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
*รหัสยืนยัน

หมายเหตุ : : กรุณากรอกข้อมูลที่มี * ทุกช่อง

view

 แบ่งปันความรู้

 หากใฝ่ฝัน ความก้าวหน้า

 จงสู้ต่อไป อย่าไหวหวั่น

 ขอเพียงตั้งใจ ใฝ่รู้

 เพราะเราคือ คนไทยใจกล้าแกร่ง

view